วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

บ้านทรงไทย

เรือนเครื่องสับ

เรือนเครื่องสับ คือประเภทหนึ่งของเรือนที่อยู่อาศัยของคนไทย ที่เรียกว่า เรือนไทย คู่กันกับ เรือนเครื่องผูก ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานหมายถึง "เป็นเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้" ส่วนใหญ่เรือนเครื่องสับเป็นเรือน 3 ห้อง กว้าง 8 ศอก แต่จะใหญ่โตมากขึ้นถ้าเจ้าของมีตำแหน่งสำคัญ เช่น เสนาบดี ช่างที่สร้างจะเป็นช่างเฉพาะทาง ก่อนสร้างจะมีการประกอบพิธีหลายๆอย่าง ในภาคกลางมักใช้ไม้เต็งรังทำพื้น เพราะแข็งมาก ทำหัวเทียนได้แข็งแรง ภาคเหนือนิยมใช้ไม้สัก ไม้ที่ไม่นิยมใช้ เช่น ไม้ตะเคียนทอง เพราะมียางสีเลือด ไม่น่าดูลักษณะทั่วไปของเรือนเครื่องสับ คือ เป็นเรือนที่ก่อสร้างแบบถาวร วัสดุที่ใช้มักจะเป็นไม้จริง การเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอาคารจะใช้วิธีบากเข้าสลัก เข้าเดือย ตอกด้วยลิ่มไม้


เรือเครื่องผูก

           เรือนเครื่องผูก คือ เรือนที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ประกอบกันเช้ากับโครงสร้างและตัวเรือน โดยการผูกยึดด้วยเชือก เถาวัลย์ วัสดุหลักมักเป็นไม้ไผ่และไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่ล้วนแล้วแต่หาได้ ภายในท้องถิ่นมีการปรับแปรวัสดุง่าย เพียงนำมาผูกยึด สอดสานเรียบร้อยเข้าด้วยกันประกอบ กันเป็นเรือน เรือนเครื่องผูกมีขนาดเล็ก ยกพื้นไม่สูงมากนักมีขนาดเล็ก (ช่วงเสา) ไม่มีความคง ทนถาวรและให้ความปลอดภัยไม่มากนัก เรือนไทยภาคใต้บำรุงรักษาและซ่อมแซมได้ง่าย ส่วนประกอบแทบทุกส่วนของ เรือนไทยภาคใต้ และยิ่งเฉพาะเรือนเครื่องผูก เช่น เครื่องมุง เครื่องกั้น พื้นเรือน และแม้แต่โครง สร้างบางชิ้นสามารถถอดเปลี่ยนซ่อมแซมได้เมื่อชำรุดหรือหมดอายุการใช้งาน คนในเรือนช่วยกัน ซ่อมแซมรักษาได้ง่าย รวมทั้งยังปลูกสร้างต่อเติมได้ง่าย คนในครอบครัวอย่างน้อยมีคนที่มีความ รู้ความสามารถเชิงช่างสามารถปลูกสร้างต่อเติมบ้านได้เอง โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่เสียหาย
ภูมิปัญญาในการสร้างเรือนไทยเครื่องผูกของชาวใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น