วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเพณีกวนข้าวยาคู



ประเพณีกวนข้าวยาคู
ข้าวยาคูหรือข้าวยาโค เป็นชื่อที่คนภาคใต้เรียกกันท่าไป ในพุทธประวัติเรียกว่า “ข้าวมธุปายาสยาคู” ซึ่งเป็นข้าวที่นางสุชาดานำไปถวายพระพุทธเจ้า

ความเชื่อ
พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ให้สมองดีเกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค ทำให้ผิวพรรณผ่องใส อายุยืนยาว และเป็นโอสถขนานเอก ขจัดโรคร้ายทุกชนิด และบันดาลความสำเร็จในการประกอบอาชีพเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริโภคด้วย

กำหนดเวลากวนข้าวยาคู
เดือนสามเป็นระยะเวลาที่ข้าวในนากำลังออกรวง เมล็ดข้าวยังไม่แก่กำลังเป็นน้ำนมข้าวสำหรับนำมากวนข้าวยาคู ชาวบ้านจึงนิยมกวนข้าวยาคูในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือน๓ โดยใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวยาคู เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมของประชาชน โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการจัดกวนข้าวยาคูขึ้นตามวัดต่างๆ และได้มีการจัดพิธีกวนข้าวยาคูเป็นพิเศษ จำนวน ๙ กระทะ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เป็นประจำทุกปี



เครื่องถม



        ถมนคร ชื่อนี้เป็นที่รู้จักและนับเป็นหนึ่งในบรรดาศิลปาชีพชั้นสูงที่มีมาตั้งแต่ครั้งอยุธยา ยังไม่เป็นที่ยุติว่าหัตถศิลปการทำเครื่องถมของประเทศไทย และของเมืองนครศรีธรรมราชนั้นเริ่มตั้งแต่เมื่อใดแต่ในประวัติศาสตร์โลกนั้น ปัจจุบันนี้ได้พบเครื่องถมที่เก่าแก่ที่สุดในยุคโรมัน 2 ชิ้น เป็นภาพทหารโรมันและหีบเครื่องสำอางสตรี อายุระหว่าง 210 ปีก่อนพุทธกาล ถึงราว พ.ศ. 1019 ทำให้สันนิษฐานว่าถมนครนี้อาจจะรับมาจากโรมัน ผ่านทางอินเดีย หรือกรีก หรือเปอร์เซีย เมื่อ
ประมาณ 800 ปีก่อน ในขณะที่บางท่านกลับเห็นว่าถมนครนี้น่าจะเกิดที่นี่ เพราะบางหลักฐานทางกรีกก็กล่าวว่ารับศิลปะนี้จากตะวันออกเช่นกัน


การผลิตตุ๊กตาไก่ของชาวบ้าน ชุมชนหน้า สถานีรถไฟนครศรีฯ ตำบลคลัง อ.เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช



            ลักษณะ การผลิตตุ๊กตาไก่ของชาวบ้าน ชุมชนหน้า สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช ตำบลคลัง อ.เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยชมชนหน้าสถานีรถไฟนครศรีธรรมราชเป็นชุมชนที่เก่าแก่ มามากหลายสิบปีมาแล้ว ชุมชน นั้น ยังเป็นแหล่งที่มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย การผลิตหัตถกรรมตุ๊กตาไก่เป็นอีกภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ และการส่งเสริมรายได้ที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดเด่นของชุมชน อีกทางหนึ่งเช่นกัน

กาหลอ






      กาหลอ เป็นการละเล่นของชาวปักษ์ใต้อีกอย่างหนึ่ง เท่าที่พบในนครศรีธรรมราช จะเป็นดนตรีที่ใช้ละเล่นหรือประโคมในงานศพ ในหนังสือพจนะสารานุกรมของ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร ได้ให้ความหมายของกาหลอไว้ว่า " กาหลอเป็นดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับประโคมในงานศพ " แต่มีบางท่านกล่าวว่า " กาหลอเป็นงานแห่ในวันสงกรานต์ เพื่อความรื่นเริง และแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อผู้บังเกิดเกล้าของตน " อาจารย์กฤตวิทย์ ดวงสร้อยทอง เขียนเรื่อง " กาหลอดนตรีงานศพ " ในวารสาร มศว.สงขลา ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เอาไว้ตอนหนึ่งว่า " กาหลอเป็นการละเล่นประกอบเครื่องดนตรี ซึ่งมักจะเล่นเฉพาะในงานศพ ทำนองเดียวกันกับการสวดคฤหัสถ์หรือสวดมาลัย เข้าใจว่าคงนิยมเหมือนกับการเล่นซอพื้นเมืองของภาคเหนือ ซึ่งเดิมก็เล่นเฉพาะในงานศพ การเล่นเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และต้องมีฝีมือในการร้อง และดนตรีโดยเฉพาะปี่กาหลอเป็นพิเศษ "

เพลงบอก

               


                   เพลงบอก เป็นเพลงพื้นเมืองที่นิยมเล่นแพร่หลายที่สุดในสมัยก่อน เมื่อถึงหน้าสงกรานต์ยังไม่มีปฏิทินบอกสงกรานต์แพร่หลายอย่างปัจจุบัน จะมีแม่เพลงนำรายละเอียดเกี่ยวกับสงกรานต์ออกป่าวประกาศแก่ชาวบ้าน โดยร้องเป็นเพลงพื้นบ้านและมีลูกคู่รับเป็นทำนองเฉพาะ จึงมีชื่อเรียกว่าเพลงบอก กลอนเพลงบอกดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้านโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเพลงเห่ หรือเพลงฉะ บ้างก็เรียกเพลงแปดบท เพลงชนิดนี้จะมีแม่เพลงว่าเป็นแบบกลอนด้น ครั้งละ ๒ วรรค แล้วลูกคู่รับดะ กลอนแปดบทเฟื่องฟูอยู่ทาง นครศรีธรรมราชประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ปีที่แล้ว และมีการดัดแปลงมาเป็นลำดับ จนถึงรัชกาลที่ ๕ พระรัตนธัชมุณี เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้จัดระเบียบกฏเกณฑ์กลอนเพลงบอกขึ้นใหม่ โดยจะมีการรับของลูกคู่และอาจแทรกวลีหรือถ้อยคำระหว่างกลอนที่แม่เพลงกำลังว่าอยู่ เพื่อให้ลีลากลอนครึกครื้นสนุกสนาน และช่วยแก้ปัญหาการติดกลอดของแม่เพลงได้ วิธีการนี้ของลูกคู่เรียกว่า "ทอยเพลงบอก" ในปัจจุบันนอกจากมีการว่าเพลงบอก เพื่อบอกข่าวสงกรานต์แล้ว ยังนำไปเล่นในโอกาสอื่นๆ เช่น บอกข่าวประชาสัมพันธ์งานบุญงานกุศล เพลงบอกร้องบวงสรวงในพิธีกรรมต่างๆ เพลงบอกร้องชา เป็นต้น

มโนราห์

          
                  มโนราห์ เรียกสั้นๆ ว่า โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย แต่เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย









หนังตะลุง



หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด
หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ







บ้านทรงไทย

เรือนเครื่องสับ

เรือนเครื่องสับ คือประเภทหนึ่งของเรือนที่อยู่อาศัยของคนไทย ที่เรียกว่า เรือนไทย คู่กันกับ เรือนเครื่องผูก ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานหมายถึง "เป็นเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้" ส่วนใหญ่เรือนเครื่องสับเป็นเรือน 3 ห้อง กว้าง 8 ศอก แต่จะใหญ่โตมากขึ้นถ้าเจ้าของมีตำแหน่งสำคัญ เช่น เสนาบดี ช่างที่สร้างจะเป็นช่างเฉพาะทาง ก่อนสร้างจะมีการประกอบพิธีหลายๆอย่าง ในภาคกลางมักใช้ไม้เต็งรังทำพื้น เพราะแข็งมาก ทำหัวเทียนได้แข็งแรง ภาคเหนือนิยมใช้ไม้สัก ไม้ที่ไม่นิยมใช้ เช่น ไม้ตะเคียนทอง เพราะมียางสีเลือด ไม่น่าดูลักษณะทั่วไปของเรือนเครื่องสับ คือ เป็นเรือนที่ก่อสร้างแบบถาวร วัสดุที่ใช้มักจะเป็นไม้จริง การเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอาคารจะใช้วิธีบากเข้าสลัก เข้าเดือย ตอกด้วยลิ่มไม้


เรือเครื่องผูก

           เรือนเครื่องผูก คือ เรือนที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ประกอบกันเช้ากับโครงสร้างและตัวเรือน โดยการผูกยึดด้วยเชือก เถาวัลย์ วัสดุหลักมักเป็นไม้ไผ่และไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่ล้วนแล้วแต่หาได้ ภายในท้องถิ่นมีการปรับแปรวัสดุง่าย เพียงนำมาผูกยึด สอดสานเรียบร้อยเข้าด้วยกันประกอบ กันเป็นเรือน เรือนเครื่องผูกมีขนาดเล็ก ยกพื้นไม่สูงมากนักมีขนาดเล็ก (ช่วงเสา) ไม่มีความคง ทนถาวรและให้ความปลอดภัยไม่มากนัก เรือนไทยภาคใต้บำรุงรักษาและซ่อมแซมได้ง่าย ส่วนประกอบแทบทุกส่วนของ เรือนไทยภาคใต้ และยิ่งเฉพาะเรือนเครื่องผูก เช่น เครื่องมุง เครื่องกั้น พื้นเรือน และแม้แต่โครง สร้างบางชิ้นสามารถถอดเปลี่ยนซ่อมแซมได้เมื่อชำรุดหรือหมดอายุการใช้งาน คนในเรือนช่วยกัน ซ่อมแซมรักษาได้ง่าย รวมทั้งยังปลูกสร้างต่อเติมได้ง่าย คนในครอบครัวอย่างน้อยมีคนที่มีความ รู้ความสามารถเชิงช่างสามารถปลูกสร้างต่อเติมบ้านได้เอง โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่เสียหาย
ภูมิปัญญาในการสร้างเรือนไทยเครื่องผูกของชาวใต้

ประมวลภาพอุปกรณ์ประเภทของใช้ในครัวเรือน







ประมวลภาพอุปกรณ์ประเภทตักน้ำ




ประมวลภาพอุปกรณ์ประเภทอื่นๆ

ใช้ในการเกษตร


อุปกรณ์การเกษตร


เครื่องมือทำยาสูบ, น้ำตาลตโนด


เครื่องมือจับสัตว์ปีก


อุปกรณ์ทำสวนยางพารา

ประมวลภาพอุปกรณ์ทำนา









ประมวลภาพอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ






เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ "ส้อน"





ลักษณะ
     เป็นเครื่องมือดักสัตว์ในบริเวณที่มีน้ำไหลชนิดที่ใช้ทั่วไปในภาคใต้ จะทำด้วยไม้ไผ่ไม่มีงาวางตอกในแนวยาว ขัดด้วยหวาย เถาวัลย์หรือลวดอย่างห่าง ๆลักษณะรูปทรงของส้อนคล้ายกรวยยาว ส่วนก้น หรือ หางส้อน รวบแน่นเข้าหากัน ส่วนหน้าหรือ ปากส้อน มีลักษณะต่างกันเป็น 2 แบบถ้าปากบานเชิดออก

เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ "สุ่ม"



ลักษณะ
                     สุ่มเป็นอุปกรณ์ท่ใช้สำหรับดักสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ที่เริ่มจากการสรรหาวัถุดิบโดย เลือกไม้ไผ่ค่อนข้างแก่แต่ไม่แก่จัดจนเกรียมกรอบ และตัดไม้ไผ่ให้ยาวตามความสูงของสุ่มให้ได้ 2 ปล้องติดกันให้ข้ออยู่ประมาณกลาง ๆ ปลายทั้งสองไม่ติดต่อปล้อง เมื่อได้ความยาวตามที่ตามประสงค์แล้วจึงตัดผ่าเป็นตอกเพื่อใช้ทำซี่สุ่มให้ได้จำนวน 40 ซี่สำหรับขนาดเล็ก 69 ซี่ขนาดกลาง และ 72 วี่ ขนาดใหญ่ เอาซี่ที่ผ่าเหลาให้กลมโตขนาดแท่งดินสอดำ ส่วนหวายหรือวัสดุที่จะนำมาผูกก็ต้องผ่าและเหลาอย่างดี เมื่อเตรียมการทุกอย่างแล้ว เอาซี่สุ่มวางราบรอบขอบนอกหนงใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนกลางของของสุ่ม ให้ด้านผิวไม้ไผ่หันออกนอก ใช้หวายพันซี่สุ่มให้แน่นติดหนงใญ่ 2 รอบ ส่วนซี่อ้นต่อ ๆไปจัดเรียงและผูกด้วยวิธีเดียวกันจนรอบหนงใหญ่โดยให้มีระยะห่างเท่ากับขนาดของซี่ เมื่อผูกซี่กับหนงใหญ่เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จัดผูกปลายซี่ ส่วนบนกับแกนของหัวสุ่มให้แน่นหนาเคลื่อนที่ไม่ได้และให้ระยะระกหว่างซี่เกือบชิดกันเรียกตรงนี้ว่า " ขึ้นหัวสุ่ม" หลังจากนั้นก็เอาหวายดักปิดหลายซี่ทั้งหมดยึดไว้กับแกนหัวสุ่มด้านในกับหวายที่ผูกปลายซี่ทั้งด้านนอกและด้านในอย่างแน่นหนาเรียกว่า ควมหัวสุ่ม ต่ำจากปลายของหัวสุ่มมาประมาณ 2 นิ้ว ผูกกรองด้วยหวาย ริมขอบล่างของไม้นั้นเจาะเป็นรูให้ทะลุสำหรับสอดรอบหวายเพื่อผูกซี่ให้ติดกับสุ่มประมาณ 8 นิ้วจัดทำหนงเล็ก โดยเอาลวดไม้อีกอันหนึ่งที่ขดเป็นวงเล็กใส่เข้าไปภายในตัวสุ่มให้อยู่บนแนวของหนงใหญ่ และวผูกด้วยหวาย เช่นเดียวกับผูกหนงใหญ่ปลายซี่ด้านล่างสุดของตัวสุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ "หมาตักน้ำ"



ลักษณะ

            หมาตักน้ำเป็นเครื่องใช้ตักน้ำของชาวภาคใต้แทบทุกจังหวัดคำว่า" หมา " บางท่านว่าไม่ใช่คำไทยแท้แต่มาจาก Timba ในภาษามาลายู ซึงหมายถึง ภาชนะตักน้ำที่ทำด้วย กาบหมาก หมาตักน้ำทำมาจาก ใบจาก เรียกว่า " หมาจาก " ถ้าทำมาจากกราบหมาก เรียกว่า" หมาต้อ " ถ้าทำจากกราบต้นหลาวโอน เรียกว่า" หมาต้อหลาวโอน " นครศรีธรรมราชมีก่ารทำภาชนะตักน้ำจากใบจาก กาบหมาก และกราบต้นหลาวโอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าในท้องถิ่นนั้นจะมีวัสถุประสงค์สิ่งใดมาก หมาทำใช้กันมากในท้องถิ่นอำเภอปากพนัง อำเภอ เชียรใหญ่ และอำเภอหัไทร จังหวัดนครศรีฯ หมาต้อทำใช้กันมากในท้องถิ่น อ. ลานสกา และ อ. ร่อนพิบูลย์ หมาต้อหลาวโอนทำใช้กันมากในท้องที่กิ่ง อ. พรหมคีรี จ. นครศร๊ธรรมราช

เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ "ข้อง"



ลักษณะ
         เป็นเครื่องมือสำหรับใส่ ก้ง - ปู - ปลาที่จับได้มีขนาดเล็กบางทีก็ใช้ใส่เยื่อสำหรับตกปลา ตกกุ้ง สานด้วยไม้ไผ่ หรือคลุม มีปากขัดหรือเชื่อกหรือหวาย สำหรับใช้ผูกไว้กับสะเอว ข้องมีหลายแบบและหลายลักษณะดังนี้
 1. ข้องจง มีขนาดเล็ก ทรงกระบอก ก้นแบนเรียบขึ้นรูปเป็นรูปกลมหรือเป็นรูปมุมสีเหลี่ยมก็ได้ ประกอบเข้าเล็กน้อย นิยมสานด้วยไม้ไผ่หรือคลุ้มเป็นลายขัดตาทแยงและลายขัดตาหลิ่ว ใช้สำหรับใส่กุ้ง ปลา ขนาดเล็ก
2.ข้องแจง ลักษณะคล้ายข้องจง มีขนาดเล็กแต่ขนาดใหญ่กว่าก้นแบบเรียบ ขึ้นรูปเป็นมุมสี่มุม ตัวข้องกลมป้อม ค่อย ๆสอบเข้าเป็นส่วนคอ แล้วบานออกเป็นปากข้องนิยมสานด้วยไม้ไผ่ ส่วนก้นและตัวของสานด้วยลายขัดตาหลิ่ว ส่วนคอถึงปากสานด้วยลายขัดตาทแยง ปากรูปกลมใช้แผ่นไม้ตัดตามรูปปากข้อง ทำเป็นฝาปิด นิยมใช้ใส่ปลาขนาดใหญ่
3.ข้องทน ผ หรือไซทน ) ลักษณะข้องกลมป่องกลาง สานด้วยไม้ไผ่ใยตาล คลุ้มหรือย่านลิเภาก็ได้ โดยใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโครงแล้วสานด้วยลายขัดโครงควายจัดให้แน่น
4. ข้องเป็นที่คล่องใส่ปลาที่มทีลักษณะก้นแบน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขึ้นเป็นรูปสี่มุมแต่กลมรี ค่อย ๆ สอดเข้าเป็รรูปคอขวดกลมปากกลมแคบ ผาเปิดทำด้วยไม้ไผ่คลุมหรือหวาสานด้วยลายขัดโครงควายขัดแน่น ยกเว้นส่วนตัวระหว่างตัวกับคอจะขัดเป็นตาห่าง ๆ ข้องบ่งเป็นข้องใส่สัตว์น้ำ โดยเฉพาะ

เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ "ลัน"


     
      ลักษณะ

เป็นเครื่องมือสำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ ทำขึ้นด้วยลำไม้ไผ่บางยาวประมาณ 2 ปล้อง โดยถุ้งผนังก้นปล้องออก ด้านหนึ่งปิดอีกด้านหนึ่งใส่งาทำด้วยไม้ไผ่เหลาให้บางขนาด 1 ซม. หลาย ๆ อันเอามารวประกอบกันเป็นวงกลมให้ได้ขนาดเท่าปากล้น ส่วนทางด้านหนึ่งที่ปิดอยู่นั่นกรีดเป็นช่องให้น้ำไหลถ่ายเทออกได้ สาวใช้ล้นจะนำเอาปูหรือปลาที่ตายแล้วใส่ในล้นเพื่อเป็นเหยื่อล่อให้ปลาไหลเข้าไปกิน นำล้นที่ใส่เยื่อแล้วไปจมในหนองน้ำการจมล้นจะใช้ไม้เสียบปากล้นปักลงไปในดินเพื่อไม่ให้ปากล้นลอยขึ้นเหนือน้ำให้รู้ระบายอากาศอยู่เหนือน้ำ เมื่อปลาไหลไดด้กลิ่นเหยื่อก็จะเข้าไปในล้นแต่จะออกไม่ได้ การจมล้นโดยมากมักจมหลังฤดูฝนไป

เทศกาลสารทเดือนสิบ



ความเป็นมาของงานเทศกาลเดือนสิบ           
           “งานเทศกาลเดือนสิบ” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินสร้างสโมสรข้าราชการ ซึ่งชำรุดมากแล้ว โดยในช่วงนั้น พระภัทรนาวิก จำรูญ(เอื้อน ภัทรนาวิก) ซึ่งเป็นนายกศรีธรรมราชสโมสร และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการได้ร่วมกันจัดงานประจำปีขึ้นโดยได้จัดกำหนดเอางานทำบุญเดือนสิบมาจัดเป็นงานประจำปี พร้อมทั้งมีการออกร้าน และมหรสพต่างๆโดยมีระยะเวลาในการจัดงาน ๓ วัน ๓ คืน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางจังหวัดได้ย้ายสถานที่จัดงานจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด) ซึ่งมีบริเวณกว้าง และได้มีการจัดตกแต่งสถานที่ไว้อย่างสวยงาม รวมทั้งได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานไปจากเดิมหลายประการ


ความสำคัญของประเพณีสารทเดือนสิบของ  
           การทำบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้ถือปฏิบัติด้วยศรัทธาแต่ดึกดำบรรพ์โดยถือเป็นคติว่าปลายเดือนสิบของแต่ละปี เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล เป็นช่วงที่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการเกษตร ชื่นชมยินดีในพืชของตน ประกอบด้วยเชื่อกันว่า ในระยะเดียวกันนี้เปรตที่มีชื่อว่า “ปรทัตตูปชีวีเปรต” จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อลูกหลานญาติพี่น้อง เหตุนี้ ณ โลกมนุษย์จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปไห้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่น้อง ลูกหลานที่ล่วงลับไป โดยการจัดอาหารคาวหวานวางไว้ที่บริเวณวัด เรียกว่า “ตั้งเปรต” ตามพิธีไสยเวทอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้พัฒนามาเป็น “การชิงเปรต” ในเวลาต่อมา



เหตุผลของการจัดหฺมฺรับ
           ปลายเดือนสิบอันเป็นระยะเริ่มฤดูฝน “การอิงศาสภิกษุ” ด้วยพืชผลที่ยังไม่ได้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานสำหรับขบฉันในทันทีที่ขับประเคนนั้น ชาวเมืองมุ่งหมายจะให้เสบียงเลี้ยงสงฆ์ในฤดูกาลอันยากต่อการบิณฑบาต และเพื่อมิให้ฉันทาคติบังเกิดแก่ทั้งสองฝ่าย คือสงฆ์ และศรัทธาถวายพืชผักสดแก่สงฆ์ จึงใช้วิธี “ สลากภัต” คือจัดใส่ภาชนะตกแต่ง เรียกว่า “สำรับ” หรือ “หฺมฺรับ”


“หฺมฺรับ” หัวใจของการทำบุญเดือนสิบ
          การจัดหฺมฺรับ เป็นการเตรียมเสบียงอาหารบรรจุในภาชนะเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงเทศกาลเดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ได้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ หลังจากถูกปล่อยตัวมาอยู่ในเมืองมนุษย์ช่วงเวลาหนึ่ง และต้องถึงเวลากลับไปใช้กรรมตามเดิม ฉะนั้น บรรดาลูกหลานก็จะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร ฯลฯ มิให้ขาดตกบกพร่องแล้วบรรจงจัดลงภาชนะ ตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ให้สวยงาม เพื่อทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้บรรพบุรุษ ด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความผูกพัน และความกตัญญู



การปฎิบัติตามประเพณีสารทเดือนสิบ
        ช่วงของการทำบุญเดือนสิบ จะมีวันที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการเรื่อง “หฺมฺรับ” อยู่หลายวัน และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน 

วันหฺมฺรับเล็ก ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ เชื่อกันว่าเป็นวันแรกที่วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้รับอนุญาตให้กลับมาเยี่ยมลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะจัดสำหรับอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด เป็นการต้อนรับ บางท้องถิ่นเรียกวันนี้ว่า “วันรับตายาย” 

วันจ่าย ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่คนนครต้องตระเตรียมข้าวของสำหรับจัดหฺมฺรับ โดยไปตลาดเพื่อจัดจ่ายข้าวของเป็นการพิเศษกว่าวันอื่นๆ 

วันยกหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๔ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่ลูกหลานร่วมกันแบกหาม หรือ ทูนหฺมฺรับที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ไปถวายพระที่วัด อาจจะรวมกลุ่มคนบ้านไกล้เรือนเคียงไปเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ หรือบางทีอาจจะจัดเป็นขบวนแห่เพื่อความคึกคักสนุกสนานก็ได้ 

วันหฺมฺรับใหญ่ หรือ วันหลองหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่นำอาหารคาวหวานไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัดครั้งใหญ่ ทำพิธีบังสุกุล อุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน และตั้งเปรตเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้วิญญาณที่ไม่มีลูกหลานมาทำบุญให้ ขณะเดียวกันก็ทำพิธีฉลองสมโภชหฺมฺรับที่ยกมา 

การจัดหฺมฺรับ ส่วนใหญ่การจัดหฺมฺรับ ส่วนใหญ่จะใช้ของแห้งที่เก็บไว้ได้นาน เพราะสะดวกในการจัดเก็บและรักษา โดยนิยมจัดในภาชนะกระบุง กะละมัง ถัง ถาด วิธีจัดจะใส่ข้าวสารรองชั้นล่าง ตามด้วยเรื่องปรุงพวกของแห้งที่ใช้ในครัว ชั้นถัดมาเป็นพวกอาหารแห้ง หยูกยา หมากพลู และของใช้จำเป็นประจำวัน ส่วนหัวใจของหฺมฺรับที่เป็นเอกลักษณ์ขาดไม่ได้มี ๕ อย่าง (บางแห่งมี๖อย่าง) เป็นคติความเชื่อที่ใช้รูปท
รง ลักษณะของขนมเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งจำเป็น และควรมีสำหรับเปรต คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมกง(ไข่ปลา) และลาลอยมัน


สัญลักษณ์ของขนมที่ใช้ในการจัดหฺมฺรับ



ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนเรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพมีน้ำหนักเบาย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้

ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลามีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้

ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่นต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้ามีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน
ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนมคล้ายเบี้ยหอย

ขนมกง(ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องปรัดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะคล้ายกำไล แหวน

ลาลอยมัน เป็นสัญลักษณ์แทนฟูก และหมอน ซึ่งมีในบางท้องถิ่น

การตั้งเปรต      
          ในการทำบุญสารทเดือนสิบ ลูกหลานจะทำขนม หรืออาหารนำไปวางในที่ต่างๆของวัด ตั้งที่ศาลาซึ่งเป็นศาลาสำหรับเปรตทั่วไป และริมกำแพงวัด หรือใต้ต้นไม้ สำหรับเปรตที่ปราศจากญาติ หรือญาติไม่ได้ทำบุญอุทิศให้ หรือมีกรรมไม่สามารถเข้าในวัดได้ พิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลทำได้โดยการแผ่ส่วนกุศล และกรวดน้ำอุทิศให้ เมื่อเสร็จลูกหลานจะมีการแย่งชิงขนม และอาหารกันที่เรียกว่า “ชิงเปรต”

        การชิงเปรต เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากการอุทิศส่วนกุศลแก่เปรต โดยมีพระสงฆ์สวดบังสุกุล พอพระชักสายสิญจน์ที่พาดโยงไปยังอาหารที่ตั้งเปรต ลูกหลานก็จะเข้าไปแย่งเอามากิน ซึ่งของที่แย่งมาได้ถือเป็นของเดนชาน การได้กินเดนชานจากวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นความเชื่อที่ถือกันว่าเป็นการแสดงความรัก เป็นสิริมงคล และเป็นกุศลสำหรับลูกหลาน