วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเพณีกวนข้าวยาคู



ประเพณีกวนข้าวยาคู
ข้าวยาคูหรือข้าวยาโค เป็นชื่อที่คนภาคใต้เรียกกันท่าไป ในพุทธประวัติเรียกว่า “ข้าวมธุปายาสยาคู” ซึ่งเป็นข้าวที่นางสุชาดานำไปถวายพระพุทธเจ้า

ความเชื่อ
พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ให้สมองดีเกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค ทำให้ผิวพรรณผ่องใส อายุยืนยาว และเป็นโอสถขนานเอก ขจัดโรคร้ายทุกชนิด และบันดาลความสำเร็จในการประกอบอาชีพเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริโภคด้วย

กำหนดเวลากวนข้าวยาคู
เดือนสามเป็นระยะเวลาที่ข้าวในนากำลังออกรวง เมล็ดข้าวยังไม่แก่กำลังเป็นน้ำนมข้าวสำหรับนำมากวนข้าวยาคู ชาวบ้านจึงนิยมกวนข้าวยาคูในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือน๓ โดยใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวยาคู เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมของประชาชน โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการจัดกวนข้าวยาคูขึ้นตามวัดต่างๆ และได้มีการจัดพิธีกวนข้าวยาคูเป็นพิเศษ จำนวน ๙ กระทะ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เป็นประจำทุกปี



เครื่องถม



        ถมนคร ชื่อนี้เป็นที่รู้จักและนับเป็นหนึ่งในบรรดาศิลปาชีพชั้นสูงที่มีมาตั้งแต่ครั้งอยุธยา ยังไม่เป็นที่ยุติว่าหัตถศิลปการทำเครื่องถมของประเทศไทย และของเมืองนครศรีธรรมราชนั้นเริ่มตั้งแต่เมื่อใดแต่ในประวัติศาสตร์โลกนั้น ปัจจุบันนี้ได้พบเครื่องถมที่เก่าแก่ที่สุดในยุคโรมัน 2 ชิ้น เป็นภาพทหารโรมันและหีบเครื่องสำอางสตรี อายุระหว่าง 210 ปีก่อนพุทธกาล ถึงราว พ.ศ. 1019 ทำให้สันนิษฐานว่าถมนครนี้อาจจะรับมาจากโรมัน ผ่านทางอินเดีย หรือกรีก หรือเปอร์เซีย เมื่อ
ประมาณ 800 ปีก่อน ในขณะที่บางท่านกลับเห็นว่าถมนครนี้น่าจะเกิดที่นี่ เพราะบางหลักฐานทางกรีกก็กล่าวว่ารับศิลปะนี้จากตะวันออกเช่นกัน


การผลิตตุ๊กตาไก่ของชาวบ้าน ชุมชนหน้า สถานีรถไฟนครศรีฯ ตำบลคลัง อ.เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช



            ลักษณะ การผลิตตุ๊กตาไก่ของชาวบ้าน ชุมชนหน้า สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช ตำบลคลัง อ.เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยชมชนหน้าสถานีรถไฟนครศรีธรรมราชเป็นชุมชนที่เก่าแก่ มามากหลายสิบปีมาแล้ว ชุมชน นั้น ยังเป็นแหล่งที่มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย การผลิตหัตถกรรมตุ๊กตาไก่เป็นอีกภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ และการส่งเสริมรายได้ที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดเด่นของชุมชน อีกทางหนึ่งเช่นกัน

กาหลอ






      กาหลอ เป็นการละเล่นของชาวปักษ์ใต้อีกอย่างหนึ่ง เท่าที่พบในนครศรีธรรมราช จะเป็นดนตรีที่ใช้ละเล่นหรือประโคมในงานศพ ในหนังสือพจนะสารานุกรมของ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร ได้ให้ความหมายของกาหลอไว้ว่า " กาหลอเป็นดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับประโคมในงานศพ " แต่มีบางท่านกล่าวว่า " กาหลอเป็นงานแห่ในวันสงกรานต์ เพื่อความรื่นเริง และแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อผู้บังเกิดเกล้าของตน " อาจารย์กฤตวิทย์ ดวงสร้อยทอง เขียนเรื่อง " กาหลอดนตรีงานศพ " ในวารสาร มศว.สงขลา ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เอาไว้ตอนหนึ่งว่า " กาหลอเป็นการละเล่นประกอบเครื่องดนตรี ซึ่งมักจะเล่นเฉพาะในงานศพ ทำนองเดียวกันกับการสวดคฤหัสถ์หรือสวดมาลัย เข้าใจว่าคงนิยมเหมือนกับการเล่นซอพื้นเมืองของภาคเหนือ ซึ่งเดิมก็เล่นเฉพาะในงานศพ การเล่นเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และต้องมีฝีมือในการร้อง และดนตรีโดยเฉพาะปี่กาหลอเป็นพิเศษ "

เพลงบอก

               


                   เพลงบอก เป็นเพลงพื้นเมืองที่นิยมเล่นแพร่หลายที่สุดในสมัยก่อน เมื่อถึงหน้าสงกรานต์ยังไม่มีปฏิทินบอกสงกรานต์แพร่หลายอย่างปัจจุบัน จะมีแม่เพลงนำรายละเอียดเกี่ยวกับสงกรานต์ออกป่าวประกาศแก่ชาวบ้าน โดยร้องเป็นเพลงพื้นบ้านและมีลูกคู่รับเป็นทำนองเฉพาะ จึงมีชื่อเรียกว่าเพลงบอก กลอนเพลงบอกดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้านโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเพลงเห่ หรือเพลงฉะ บ้างก็เรียกเพลงแปดบท เพลงชนิดนี้จะมีแม่เพลงว่าเป็นแบบกลอนด้น ครั้งละ ๒ วรรค แล้วลูกคู่รับดะ กลอนแปดบทเฟื่องฟูอยู่ทาง นครศรีธรรมราชประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ปีที่แล้ว และมีการดัดแปลงมาเป็นลำดับ จนถึงรัชกาลที่ ๕ พระรัตนธัชมุณี เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้จัดระเบียบกฏเกณฑ์กลอนเพลงบอกขึ้นใหม่ โดยจะมีการรับของลูกคู่และอาจแทรกวลีหรือถ้อยคำระหว่างกลอนที่แม่เพลงกำลังว่าอยู่ เพื่อให้ลีลากลอนครึกครื้นสนุกสนาน และช่วยแก้ปัญหาการติดกลอดของแม่เพลงได้ วิธีการนี้ของลูกคู่เรียกว่า "ทอยเพลงบอก" ในปัจจุบันนอกจากมีการว่าเพลงบอก เพื่อบอกข่าวสงกรานต์แล้ว ยังนำไปเล่นในโอกาสอื่นๆ เช่น บอกข่าวประชาสัมพันธ์งานบุญงานกุศล เพลงบอกร้องบวงสรวงในพิธีกรรมต่างๆ เพลงบอกร้องชา เป็นต้น

มโนราห์

          
                  มโนราห์ เรียกสั้นๆ ว่า โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย แต่เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย









หนังตะลุง



หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด
หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ